https://www.banggood.com/50X-LED-Illumination-Pen-Style-Pocket-Microscope-Magnifying-Glass-with-Reading-Scales-p-1137785.html?p=8Z020971524652016114

Luang Pho Hin Wat Salak -หลวงพ่อหินวัดสลัก


หลวงพ่อหิน พระประธานพระอุโบสถวัดสลัก

ประวัติหลวงพ่อหิน เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า ในพ.ศ. 2310

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ล่องเรือมาตามลำน้ำ

เจ้าพระยาเพื่อจะไปหาหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ก่อนเลี้ยวเข้าคลอง

บางกอกใหญ่บริเวณหน้าวัดสลัก พบเรือลาดตระเวณของพม่า จึงพลิกเรือคว่ำ

เพื่อซ่อนตัวพร้อมกับอธิษฐาน ขออำนาจพระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นที่พึ่ง

ว่าหากพระองค์รอดพ้นจากข้าศึกไปได้ต่อภายหน้าจะได้เป็นใหญ่แล้ว

จะมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ให้รุ่งเรืองสืบไป

เมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

ทรงสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล ขยายเนื้อที่มาทางทิศใต้ กินเนื้อที่วัดสลัก

แล้วโปรดให้ทำผาติกรรมเอาเนื้อที่ตอนใต้เพิ่ม ทำให้ต้องรื้อพระอุโบสถ

อัญเชิญพระประธานศิลาแดง มาไว้ที่วิหารเก่าแล้วก่อเจดีย์รวมไว้กับพระประธานของวิหาร

เสร็จแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิพพานาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาต

(เหตุที่เปลี่ยนชื่อให้ดูจากประวัติวัดมหาธาตุ) ในปี พ.ศ. 2462 ได้รื้อเจดีย์ออก

อัญเชิญพระศิลาแดงมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เป็นคู่กับพระพุทธรูป

ที่ประดิษฐานอยู่เดิมได้พอดี เรียกว่า หลวงพ่อหิน มีหลักฐานปรากฎในแผ่นศิลา

ที่ติดอยู่ที่ฐานพระประธานในโบสถ์วัดสลักว่าสร้างในปี พ.ศ. 2228

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

*คัดลอกจาก พระวิหารหลวง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 30 กันยายน 2567

*ศิลาแดง น่าจะหมายถึง ศิลาแลง



Luang Pho Hin, the Principal Buddha Image of Wat Salak

History of Luang Pho Hin: In 1767 (B.E. 2310), when the Kingdom of Ayutthaya was about to fall to the Burmese, Prince Maha Sura Singhanat, the viceroy of the Rattanakosin Kingdom (later to become the viceroy), at that time still known as Nai Sudchinda, a royal page, was traveling by boat along the Chao Phraya River to meet Luang Yokkrabat in Ratchaburi. Before turning into the Bangkok Yai Canal, near the front of Wat Salak, he encountered a Burmese patrol boat. He capsized his boat to hide and prayed, seeking refuge in the power of the Buddha image in the ordination hall (Ubosot), vowing that if he survived the enemy and became powerful in the future, he would come back to restore the temple to prosperity.

When Rattanakosin was established as the capital, Prince Maha Sura Singhanat built the Bowonniwet Palace and expanded the area southward, encroaching upon the land of Wat Salak. He ordered the transfer of land in exchange, which necessitated the dismantling of the Ubosot (ordination hall) and moving the principal Buddha image, made of laterite (referred to as "red stone"), to the old Viharn (assembly hall). A stupa was constructed to house the Buddha image along with other principal images of the Viharn.

After completing the reconstruction, the temple was renamed "Wat Nippanaram," "Wat Phra Si Sanphet," and "Wat Mahathat" (refer to Wat Mahathat's history for details on the name changes). In 1919 (B.E. 2462), the stupa was dismantled, and the laterite Buddha image was enshrined in the Viharn, paired perfectly with the Buddha image that had already been housed there. This Buddha image became known as Luang Pho Hin. Evidence of its history is inscribed on a stone plaque attached to the base of the principal Buddha image in the Ubosot of Wat Salak, stating that it was constructed in 1685 (B.E. 2228) during the reign of King Narai the Great.

*Copied from the Grand Viharn of Wat Mahathat Yuwaratrangsarit, September 30, 2024.

*Translated by ChatGPT

ประวัติวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช...

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

Wat Mahathat Yuwaratrangsarit Ratchaworamahawihan is a first-class royal monastery of the Ratchaworamahawihan type. Originally, it was a common temple named Wat Salak, built during the Ayutthaya period. During the reign of King Rama I, when he established Bangkok as the capital and constructed the Grand Palace as the royal residence, he also built the Bowonniwet Palace as the residence of Prince Maha Sura Singhanat, the Deputy King.

Wat Salak was located in the middle of the Grand Palace and Bowonniwet Palace. Prince Maha Sura Singhanat ordered the restoration of Wat Salak in 1783 (B.E. 2326), coinciding with the construction of Bowonniwet Palace. After the restoration, the name of the temple was changed to Wat Nippanaram.

When King Rama I ordered the temple to be used for the Buddhist council in 1788 (B.E. 2331), he graciously renamed it Wat Phra Si Sanphet. Later, in 1803 (B.E. 2346), he gave the temple a new name, Wat Phra Si Rattana Mahathat Ratchaworamahawihan, after the temple in Ayutthaya that housed the relics of the Buddha and served as the residence of the Supreme Patriarch.

This royal patronage underscores the temple's historical and religious significance during the early Rattanakosin era.

*Translated by ChatGPT

==============================

คาถาบูชาหลวงพ่อหิน วัดสลัก

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัสมิง อาราเม เอตัง ตัมพะสิลามะยะพุทธปะฏิมัง

ยัสสะ ปุระโต มะหาสุระสีหะนาเทนะ ปะวะระราเชนะ วาจาสัจจาธิฏฐานัง กะตัง

มะหาปุญญะปาระมิตัง ธะระมานัง สุปะติฏฐิตัง สยามะปะเทสัสสะ

พุทธะสาสะนัสสะ จะ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ

อิทัง วาจาสัจจาธิฎฐานัง เอตัสมิง ระตะนัตตะยัสมิง สัมปะสาทะนะเจตโส


ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชา องค์พระพุทธปฏิมา มีนามว่าหลวงพ่อหิน

ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ได้ทรางทำวาจาสัตยาธิษฐาน ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธองค์

ซึ่งประดิษฐานในพระอารามแห่งนี้ องค์กอปรด้วยบุญบารมีอันยิ่งใหญ่

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่สยามประเทศชาติ

และพระพุทธศาสนา ตลอดกาลนาน

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้

ขอวาจาสัตยาธิษฐานของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้

จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ

ตลอดกาลเป็นนิตย์ เทอญ

=====
Prayer to Luang Pho Hin
(First, recite Namo Tassa three times)
Namo Tassa Bhagavato Arahato Samma Sambuddhassa
Namo Tassa Bhagavato Arahato Samma Sambuddhassa
Namo Tassa Bhagavato Arahato Samma Sambuddhassa

Vantāmi Bhante Bhagavā imasmiṁ ārāme etaṁ tambasilāmaya buddhapaṭimaṁ
Yassa purato mahāsurasīhanādena pavararājena vācasaccādhiṭṭhānaṁ kataṁ
Mahāpuññapāramitaṁ dharamānaṁ supatiṭṭhitaṁ sayāmapaṭesassa
Buddhasāsanassa ca dīgharattaṁ hitāya sukhāya
Etena saccavajjena siddhamatthu siddhamatthu siddhamatthu
Idaṁ vācasaccādhiṭṭhānaṁ etasmiṁ ratanattayasmiṁ sampasādana cetaso

* Meaning *

I humbly pay homage to the Buddha image known as Luang Pho Hin,
before whom Prince Maha Sura Singhanat of the Bowon Sathan Mongkhon Palace
made a solemn vow in front of the Blessed Buddha,
who is enshrined in this temple, possessing immense merit and virtue,
for the benefit and happiness of the Siamese nation
and the Buddha’s teachings for all eternity.
By uttering this truthful vow,
may my own vow, as one with deep faith in the Triple Gem,
come to fulfillment, come to fulfillment, come to fulfillment,
now and forevermore.

Luang Pho Hin, Wat Salak, Wat Mahathat, Yuwaratrangsarit, Rattanakosin Era, Buddhist Temple, Historical Significance, Cultural Heritage, Luang Pho Hin, Buddha Image, Pali Chanting, Thai Buddhism, Temple Restoration, Royal Patronage,  Ayutthaya Influence,  Buddhist Council, Spiritual Heritage, หลวงพ่อหิน, พระพุทธรูปหลวงพ่อหิน, พระประธาน, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, ประวัติหลวงพ่อหิน, พุทธศาสนา, การบูชาหลวงพ่อหิน, ขอพรหลวงพ่อหิน, คาถาบูชาหลวงพ่อหิน, บุญบารมี, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์, วัดในกรุงเทพฯ, พระเครื่อง, ประเพณีทางศาสนา, หลวงพ่อหินวัดสลัก,

石佛祖

Newest
Previous
Next Post »