https://www.banggood.com/50X-LED-Illumination-Pen-Style-Pocket-Microscope-Magnifying-Glass-with-Reading-Scales-p-1137785.html?p=8Z020971524652016114

กรรมฐาน 40 - Buddhaghosa forty meditation subjects

กรรมฐาน 40 - Forty meditation subjects - หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง

หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง จ.อ่างทอง

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ สร้างขึ้นโดยดำริของ พระครูวิบูลอาจารคุณ (เกษม อาจารสุโภ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดม่วง เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ใช้ทุนทรัพย์ในการสร้างทั้งหมด 104,261,089.65 บาท จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา รวมเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี โดยที่ พระครูวิบูลอาจารคุณนั้นได้ถึงแก่มรณกรรมไปเสียก่อนที่การก่อสร้างจะเสร็จด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้ชื่อพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" เป็นการอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ


กรรมฐาน  คือ การเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผน
พระพรหมคุณาภรณ์ได้สรุปกรรมฐาน 40 ในหนังสือพุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ โดย
อ้างอิงหลักที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมไว้ ดังนี้

1. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง

คือ

1.1 ภูตกสิณ (กสิณ คือมหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)
1.2 วรรณกสิณ (กสิณ คือสี) 4 คือ นีล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)
1.3 กสิณอื่นๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉิน นากาส เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง)

กสิณ 10 นี้ จะใช้ของที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็ได้ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่งโดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง

2. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก

3. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่
3.1 พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และ พิจารณาคุณของพระองค์
3.2 ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม
3.3 สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์
3.4 สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย
3.5 จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน
3.6 เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรม ซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน
3.7 มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท
3.8 กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ อาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา
3.9 อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
3.10 อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลส และไร้ทุกข์

4. อัปปมัญญา 4 หรือ พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐบริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจของท่านผู้มีจิตกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ
4.1 เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า
4.2 กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
4.3 มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุขและเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
4.4 อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง

5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร

6. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

7. อรูป หรือ อารุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรกข้อใดข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ
7.1 อากาสานัญจายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์
7.2 วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์
7.3 อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์
7.4 เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

ที่มา: วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556 143
จิตตภาวนากับการเปลี่ยนแปลงในพระพุทธศาสนา* (Meditation and Transformation in Buddhism)
พระครูธรรมธรครรชิต คุณวโร** (Phra Kanchit Kunavaro)
หน้า 147 - 148

=============================================

Buddhaghosa's forty meditation subjects

'kasina', or 'a whole': 

(1) earth, (2) water, (3) fire, (4) air, wind, (5) blue, (6) yellow, (7) red, (8) white, (9) enclosed space, (10) bright light.

Objects of repulsion (asubha): 

(1) swollen corpse, (2) discolored, bluish, corpse, (3) festering corpse, (4) fissured corpse, (5) gnawed corpse, (6,7) dismembered, or hacked and scattered, corpse, (8) bleeding corpse, (9) worm-eaten corpse, (10) skeleton.

Anussati 10: 
(1) Buddha
(2) Dharma
(3) Sangha
(4) morality (Śīla)
(5) liberality (cāga)
(6) the wholesome attributes of Devas
(7) the body (kāya)
(8) death (see Upajjhatthana Sutta)
(9) the breath (prāna) or breathing (ānāpāna)
(10) peace (see Nibbana).

Stations of Brahma (Brahma-vihara): 
(1) unconditional kindness and goodwill (mettā)
(2) compassion (karuna)
(3) sympathetic joy over another's success (mudita)
(4) evenmindedness, equanimity (upekkha)

Perception of disgust of food (aharepatikulasanna).

Analysis of the four elements (catudhatuvavatthana): 
earth (pathavi), water (apo), fire (tejo), air (vayo).

Formless states (four arūpajhānas):
(1) infinite space
(2) infinite consciousness
(3) infinite nothingness
(4) neither perception nor non-perception.

source: https://en.wikipedia.org/wiki/Kammaṭṭhāna

Previous
Next Post »