https://www.banggood.com/50X-LED-Illumination-Pen-Style-Pocket-Microscope-Magnifying-Glass-with-Reading-Scales-p-1137785.html?p=8Z020971524652016114

Prebiotics-Probiotics - พรีไบโอติก - โปรไบโอติก

ภาพโดย Alicia Harper จาก Pixabay 

Prebiotics & Probiotics - พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก ในขณะนี้มีสินค้าออกมาให้เห็นในโฆษณาหลายยี่ห้อ ลองมาดูข้อมูลความหมายและกลุ่มผู้ที่ควรระวังในการใช้ พรีไบโอติก และ โพรไปโอติก กันครับ เว็บไซต์ ของ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยศูนย์ข้อมูลยา และ เว็บไซต์โรงพยาบาลพญาไท โดยศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ให้ความหมายและข้อมูลเบื้องต้นของพรีไบโอติกและโปรไบโอติก ไว้คล้ายกันเล่าโดยสรุปคือ Prebiotics (พรีไบโอติก) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เป็นอาหาร ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่โดยไม่เปลี่ยนแปลงรูป และถูกย่อยสลายโดย โปรไบโอติก พรีไบโอติก พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่า พรีไบโอติก เป็นอาหารสำหรับ โปรไบโอติก Probiotics (โปรไบโอติก) คือจุลินทรีย์ขนาดเล็ก (กลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี) พบใน นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น จุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถทนต่อกรดและด่าง อาศัยอยู่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้ และผลิตสารต่อต้านหรือ กำจัดจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ โปรไบโอติก ในร่างกายลดลงเกิดจาก ร่างการยได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน หรือได้รับเชื้ออื่นที่ทำลาย โปรไบโอติก ได้ บทบาทของ Probiotics (โปรไบโอติก) ในร่างกาย - ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ - กระตุ้นระบบย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด - รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป - เหนี่ยวนำกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน สร้างภาวะสมดุลของภูมิคุ้มกัน ประโยชน์ของ Probiotics (โปรไบโอติก) ต่อร่างกาย - ช่วยบรรเทาความผิดปกติของร่างกาย เช่น - โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน ลำไส้ใหญ่อักเสบ - โรคภูมิแพ้ - ลดความดันโลหิต - โรคทางอวัยะสืบพันธุ๋ - โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ช่องยูทูป Rama Channel ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กลุ่มที่ควรระมัดระวัง หรือไม่ควรรับประทาน โปรไบโอติค คือ - ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ - ผู้ที่รับยากดภูมิ - ผู้ป่วยมะเร็งที่รบเคมีบำบัด - ผู้ที่เม็ดเลือดขาวต่ำ


เว็บไซต์พบแพทย์ (Pobpad.com) ได้แนะนำวิธีการรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกให้เหมาะสม ไว้ดังนี้
"การรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้น ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารแบบดิบ เนื่องจากการต้มหรือการใช้ความร้อนอาจทำให้ปริมาณพรีไบโอติกในอาหารชนิดนั้นลดลงได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะสามารถรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้บริโภคบางรายก็อาจเผชิญกับผลข้างเคียงบางอย่างได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใด ๆ ที่มีพรีไบโอติก ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนเสมอ" เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ ได้แนะนำ
การเลือกโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติกให้เหมาะกับแต่ละคนไว้ใน เรื่อง "4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์" สรุปสั้นๆ ว่า "..เป็นคนกลุ่มไหน “ท้องผูก อ้อนวอนกันทุกเช้า”หรือ “ลำไส้ไว เข้าห้องน้ำวันละหลายรอบ” ... "กินแล้วรู้สึกสุขภาพลำไส้ดีกับตัวไหนให้กินอย่างต่อเนื่อง อย่ากินๆ หยุดๆ.." - กลุ่ม"ท้องผูก" ให้ลองเลือก ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส ก่อน เนื่องจากเชื้อนี้มักทำให้ย่นระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ แปลว่าทำให้ขับถ่ายเร็วขึ้น - กลุ่ม "ลำไส้ไว" กลุ่มลำไส้ไว ถ่ายบ่อย ก็ต้องหลีกเลี่ยงเชื้อนี้มิฉะนั้นจะยิ่งวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นอีก กลุ่มลำไส้ไวควรจะเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีพรีไบโอติก (อาหารของโปรไบโอติก) อยู่ด้วย(ดูที่ฉลาก)เพราะคนกลุ่มที่ลำไส้ไว มักจะท้องอืดง่าย - กลุ่ม "ปกติ" ให้ลองโพรไบโอติคส์ตัวไหนก็ได้ ทดลองกินสัก 2-3 สัปดาห์ โดยกินเช้า-เย็น วันละ 1-2 ถ้วย ทุกวัน เริ่มแรกท้องไส้อาจรู้สึกปั่นป่วน เนื่องจากมีการแก่งแย่งพื้นที่ในลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มต่างๆของแบคทีเรียเพื่อตั้งรกราก หากไม่มีอะไรผิดปกติอย่างอื่น ก็ให้กินต่อไปทุกวัน หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว ให้สำรวจตัวเองว่ารู้สึกสบายท้องขึ้นหรือไม่ ขับถ่ายดีหรือไม่ กินโพรไบโอติคส์นี้แล้วรู้สึกว่าสุขภาพลำไส้ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ขอให้คุณกินโปรไบโอติกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การกินโพรไบโอติคส์ให้ได้ผลดี ต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆหยุดๆ ..


เทียบราคา โปรไบโอติกที่มีขายในปัจจุบัน
InnerShine ProBio
อินเนอร์ไชน์ โพรไบโอ
Probac 7 

Probilac
โปรบิแล็ค
Probiotics + Daily Balance Probalance

ซินไบโอติก (โปรไบโอติก+ไซไล-โอลิโกแซ็กคาไรด์+ไฟเบอร์)
สูตรซินไบโอติก


โพรไบโอติก (LGG & BB12) + อินูลิน โพรไบโอติก + เดลี่ บาลานซ์

โปรไบโอติก แบบเชื้อตาย

ผลิตภัณฑ์โดย
Brands (แบรนด์)
ผลิตภัณฑ์โดย
Interpharma
ผลิตภัณฑ์โดย
Dutch Mill
ผลิตภัณฑ์โดย
Blackmores
ผลิตภัณฑ์โดย
H2You
30 ซอง 970 บาท (ลดแล้ว 10%)

30 ซอง 1,450 บาท (ลดแล้ว 12%) 30 ซอง 577 บาท (ลดแล้ว 23%)

30 แคปซูล 878 บาท (ลดแล้ว 46%) 20 ซอง 890 บาท (ลดแล้ว 50%)

ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด ดูรายละเอียดดูรายละเอียด ดูรายละเอียด

หมายเหตุ
คำสะกดภาษาไทยของชื่อ Prebiotic และ Probiotics แต่ละเว็บไซต์อาจสะกดต่างกัน 
Prebiotics (พรีไปโอติกส์, พรีไบโอติก, พรีไปโอติค) / Probiotics (โพรไบโอติกส์, โปรไบโอติก, โพรไบโอติค, โพรไบโอติก)

ที่มา
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics
Toppic: โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สองคำนี้เหมือนกันหรือไม่?... เข้าดูเมื่อ 17 ธ.ค. 64 

https://www.phyathai.com/article_detail/3194/th/มารู้จัก_Probiotic_กับ_Prebiotic_สองสิ่งสำคัญ_เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี?branch=PYTN
Toppic: Probiotic กับ Prebiotic สิ่งดีดีเพื่อสุขภาพลำไส้ ... เข้าดูเมื่อ 17 ธ.ค. 64

https://www.pobpad.com/พรีไบโอติก-กับประโยชน์ท
Toppic: พรีไบโอติก กับประโยชน์ที่ควรรู้ ... เข้าดูเมื่อ 17 ธ.ค. 64

https://youtu.be/DuuVFnd1mj0
Toppic: ทั้งจำทั้งปรับ ตอน โปรไบโอติก ... เข้าดูเมื่อ 17 ธ.ค. 64

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/22/การเลือกโพรไบโอติคส์-Probiotics/
Toppic: 4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์ ... เข้าดูเมื่อ 17 ธ.ค. 64

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากเว็บไซต์ อื่นที่น่าสนใจแต่ไม่สามารถสืบกลับไปยังแหล่งต้นทางของข้อมูลได้ ได้แก่
คลังความรู้ SciMath https://www.scimath.org/article-biology/item/264-probiotio-prebiotic



Prebiotics, พรีไปโอติกส์, พรีไบโอติก, พรีไปโอติค, Probiotics, โพรไบโอติกส์, โปรไบโอติก, โพรไบโอติค, โพรไบโอติก, Probiotic vs prebiotic, วิธีเลือกโปรไบโอติก, โปรไบโอติกคือ, พรีไบโอติค, เทียบราคาโปรไบโอติค, เทียบราคา probioticคือ

Previous
Next Post »