https://www.banggood.com/50X-LED-Illumination-Pen-Style-Pocket-Microscope-Magnifying-Glass-with-Reading-Scales-p-1137785.html?p=8Z020971524652016114

Hypertension - โรคความดันโลหิตสูง

Hypertension - โรคความดันโลหิตสูง


ผมเป็นคนหนึ่งที่คุณหมอนัดให้มาพบเป็นประจำทุก 3 เดือนเนื่องด้วยมีระดับความดันโลหิตที่สูงกว่าระดับความดันโลหิตที่ทางการแพทย์ระบุว่าเป็นระดับความดันปกติ และต้องกินยา Berlin 10 mg วันละ 1 เม็ดทุกวัน เมื่อลองค้นหาข้อมูลที่ดูแล้วเข้าใจง่ายๆ และน่าเชื่อถือจากอินเทอร์เน็ต และจากหนังสือ ที่หาได้ ซึงสามารถสรุปเป็นข้อมูลให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้

หนังสือ วางแผนสู้! 7 อันดับโรคร้ายฯ 
เรียบเรียง-จัดพิมพ์โดยสุรพัศ เจริญวงศ์ ให้ข้อมูลโรคความดันโลหิตสูงไว้ดังนี้

อย่างไรถึงเรียกว่าเป็นผู้มีความดันโลหิตสูง
องค์การอนามัยโลกระบุว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูง คือผู้ที่วัดความดันโลหิตได้มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท *กำหนดไว้เมื่อ พ.ศ. 2542

ระดับความรุนแรงของความดันโลหิต
ระยะรุนแรง: ค่าความดันโลหิต สูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
*หากพบว่าค่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปควรเดินทางไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง และหากค่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 220/140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน

ระยะปานกลาง: ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179 / 100 - 109 มิลลิเมตรปรอท
ระยะเริ่มแรก: ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159 / 90-99 มิลลิเมตรปรอท

อาการ
ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศรีษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ



หน่วยแนะแนวและปรึกษาสุขภาพ งานการพยาบาลป้องกันโรคฯ 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
ได้จัดทำข้อมูลแบบเข้าใจง่ายพร้อมทั้งวิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงไว้ดังนี้

ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
ในปกติความดันโลหิต ไม่ควรเกิน 120/80 ม.ม. ปรอท สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า
140/90 ม.ม. ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง


ระดับของความดันโลหิต

ความดันตัวบน 
(หน่วย ม.ม. ปรอท)
ความดันตัวล่าง
(หน่วย ม.ม. ปรอท)
ความดันปกติ
น้อยกว่า 120
น้อยกว่า 80
ระยะก่อนความดันโลหิตสูง
ระหว่าง  120-139
ระหว่าง 80-89
ระดับ1 ความดันโลหิตสูงอย่างอ่อน
140-159
90-99
ระดับ2 ความดันโลหิตสูงปานกลาง
160-179
100-109
ระดับ3 ความดันโลหิตสูงรุนแรง
ตั้งแต่ 180 ขึ้นไป
ตั้งแต่ 110 ขึ้นไป

อาการของความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการแต่ส่วนน้อยอาจมีอาการ เช่น ปวดมึนท้ายทอย ถึงบริเวณต้นคอหลังตื่นนอน ในรายที่ความดันโลหิตสูงมากๆ อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล เหนื่อยง่าย ตามัวได้

ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
หลอดเลือดสมองตีบ/แตก อัมพาตหรือเสียชีวิตได้
ประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด
หัวใจโต เส้นเลือดหัวใจตีบ
ไตวายเรื้อรัง

ทำอย่างไรเมื่อความดันโลหิตสูง

ลดการกินเค็ม (อาหารรสเค็มหมักดอง, ขนมกรุบกรอบ, อาหารใส่ผงฟู)
คุมอาหาร (หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หวานจัด, เพิ่มการกินผักผลไม้)
ออกกำลังกาย (เช่น เดินวันละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน) *ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องกลั้นหายใจ เช่น ยกน้ำหนัก ชกมวย
งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา
หลีกเลี่ยงความเครียด (หาวิธีผ่อนคลาย เช่น ฝึกสมาธิ, ฝึกการหายใจ เข้าออก ลึกๆ ช้าๆ)
พบแพทย์ตามนัดทุกครั้งและกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ (ไม่ควรปรับขนาดยาหรือหยุดยาเอง)

ที่มา: https://med.mahidol.ac.th/medicalrecord/th/BloodPressure-th2
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://med.mahidol.ac.th/medicalrecord/en

============================
You can also find definition of Hypertension from wiki as an example below...

Hypertension (HTN or HT), also known as high blood pressure (HBP), is a long-term medical condition in which the blood pressure in the arteries is persistently elevated. High blood pressure usually does not cause symptoms. Long-term high blood pressure, however, is a major risk factor for coronary artery disease, stroke, heart failure, atrial fibrillation, peripheral vascular disease, vision loss, chronic kidney disease, and dementia.....
Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Hypertension access 18 Jun 2018 8.47 pm.

============================

Suggested article: 
Previous
Next Post »