https://www.banggood.com/50X-LED-Illumination-Pen-Style-Pocket-Microscope-Magnifying-Glass-with-Reading-Scales-p-1137785.html?p=8Z020971524652016114

An adventure trip at LAY KHAO KOB CAVE - ผจญภัยถ้ำเล เขากอบ จังหวัดตรัง

ถ้ำเลเขากอบ ตรัง, Lay Khao Kob Cave Trang, Water cave in Thailand


นึกว่าจะได้แผลเป็นที่ระลึกจากถ้ำเลเขากอบซะแล้ว แต่เพราะความชำนาญของพี่คนนำทาง ทำให้คณะเราสนุกและปลอดภัยไร้รอยขีดข่วน เด็กๆ สนุกสนานไม่มีทาง
โดนหินย้อยขูดได้เพราะตัวบางติดพื้นเรือ ส่วนผู้ใหญ่มีลุ้นหน่อยเพราะพุ่งยื่นเกินขอบข้างของเรือต้องแขม่วพุงและกลั้นหายใจเกือบตลอดทาง

ถ้ำเลเขากอบ อยู่ที่ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นถ้ำบนแผ่นดินห่างจากทะเลกว่า 40 กิโลเมตร ชื่อ "ถ้ำเล" มาจากภาษาท้องถิ่นทางภาคใต้
ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นน้ำมีบริเวณกว้างใหญ่ และภายในถ้ำมีหินย้อยที่ต่างจากถ้ำอื่นๆ คือหินย้อยประเภท "หลอดหินย้อย (Soda straw)" นอกจากนี้
ยังมีจุดเด่นที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้มาท่องเที่ยวคือ ถ้ำลอด หรือ ท้องมังกร ที่มีเพดานถ้ำต่ำมาก ผู้ที่จะลอดผ่านต้องนอนราบลงบนเรือ และผู้นำทาง 2 คน
ที่อยู่หัวและท้ายเรือสลับกันใช้มือดันเพดานถ้ำเป็นจังหวะให้เรือและนักท่องเที่ยวสามารถผ่านไปได้ ตลอดระยะทางประมาณ 350 เมตร

จากข้อมูลที่ต้นได้ คลองบริเวณรอบเขากอบมีท่านกำนันผู้ตั้งตำบลเขากอบเป็นผู้นำในการบำรุงรักษาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และมีการเปิดให้เป็นสถานที่่ท่องเที่ยวเชิง
ธรรมชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยนายอำเภอห้วยยอดคนที่ 32 เป็นผู้ริเริ่ม

ค่าเรือลำละ 400 บาท นั่งได้ไม่เกิน 5 คน มีผู้นำทาง 2 คน ดูแล้วผู้นำทางทำงานหนักมาก ตั้งแต่พายเรือจากท่าจนถึงปากถ้ำ โดยเฉพาะช่วงลอดท้องมังกร 
ท่านสามารถเพิ่มพิเศษให้กับผู้นำทางได้ตามสมควร

I thought that we are going to get a wound from the Lay Khao Kob cave trip. However, because of the experience of the local guides, they brought us on a boat and came out from the water cave safely.
This cave has water pass through the cave. This is how this place called "Lay". "Lay" is a local southern Thailand language meant a big area full of water. There are many caves in this mountain (Khao in the Thai language meant mountain). The most excited of this place is laying down on the boat and pass through the very low ceiling water cave.
This place was known as an eco-tourism place since the year 1995. The tourist will need to pay for 400 THB to sit on a boat which limited only for 5 persons and you must lie on your back for about 300 meters to get off from the cave.











More information about this cave
Please visit: https://uk.tourismthailand.org/Attraction/Lay-Khao-Kob-Cave--6007

ข้อมูลเพิ่มเติมถ้ำเลเขากอบ

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ถ้ำเลเขากอบ 9 เมษายน 2562

ถ้ำเลเขากอบ หรือ ถ้ำทะเล หรือ ถ้ำเขากอบ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอห้วยยอด ถ้ำเลเขากอบ เป็นชื่อที่ชาวบ้านในบริเวณตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เรียกกันตามภาษาพื้นบ้าน การที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ถ้ำเล หรือ ถ้ำทะเล นั้น ไม่ได้หมายถึง โพรงหรือถ้ำที่เกิดจากการผุกร่อนของหน้าผาชายฝั่งทะเล จากการถูกคลื่นกัดเซาะ ทั้งนี้เพราะบริเวณที่ตั้งของตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด อยู่ห่างจากทะเลกว่า 40 กิโลเมตร

คำว่า "ถ้ำเล" นี้ ตามภาษาท้องถิ่นทางภาคใต้หมายถึง สิ่งที่เป็นน้ำ มีบริเวณกว้างใหญ่ เพราะถ้ำเลเป็นถ้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดถ้ำ ถ้ำเลประกอบด้วย ถ้ำต่าง ๆ หลายถ้ำ อยู่ภายใต้ภูเขากอบ ได้แก่ ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำรากไทร ถ้ำท้องพระโรง ถ้ำพระสวรรค์ ถ้ำตะพาบน้ำ ถ้ำเพชร ถ้ำพลอย และถ้ำแป้ง เป็นต้น
 นอกจากนี้ สภาพภายในถ้ำเขากอบมีหินย้อยที่แตกต่างไปจากถ้ำอื่น ๆ คือ มีหินย้อยประเภทที่เรียกว่า หลอดหินย้อย (Soda straw) อยู่เป็นจำนวนมาก แสดงถึงช่วงของการเกิดเป็นหินย้อยในระยะต้น

ลักษณะทั่วไป
ถ้ำเลเขากอบ มีลักษณะเป็นภูเขาผาหินสูงชันสลับซับซ้อน มีลำคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัด
 เมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบจะแยกออกเป็น 3 สาย โดยสองสายจะไหลอ้อมภูเขาและอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย ระยะทาง  4 กิโลเมตร พื้นที่ถ้ำทั้งหมดประมาณ 200 ไร่ โดยส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี  ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบได้สร้างฝายกั้นน้ำ
เพื่อควบคุมระดับน้ำไว้

เขากอบ
ลักษณะทางธรรมชาติ
เขากอบมีลักษณะเป็นเขาโดด (Monadnock) ที่โผล่อยู่ในที่ราบลุ่ม ซึ่งเต็มไปด้วยทุ่งนาและสวนยาง มีคลองยางยวน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำตรัง ไหลผ่านเข้ามายังเขากอบ เขากอบมีความสูงประมาณ 160 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความยาวประมาณ 800 เมตร และมีช่วงกว้างที่สุดประมาณ 400 เมตร
บริเวณเชิงเขากอบ มีแนวคลองล้อมรอบ บางส่วนอาจเป็นการขุดคูเชื่อมต่อกับคลองธรรมชาติ ทั้งนี้มีหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ขุนกอบคีรีวง (นายอิน วรรณบวร) กำนันผู้ก่อตั้งตำบลเขากอบได้นำชาวบ้านขุดลอกคลองรอบเขากอบนี้

พื้นที่รอบภูเขาด้านทิศเหนือและตะวันตกเป็นสวนยางพารา ด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเป็นทุ่งนา เขากอบมียอดเขาสูง 5-6 ยอด ที่สูงประมาณ 200 เมตร มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นดิน เรียกว่า ผานางคอย อยู่ทางทิศใต้ของภูเขา

ทางเข้าถ้ำเลมีทั้งหมด 7 ช่องทาง คือ

ทิศเหนือ 1 ช่อง เรือเข้าได้
ทิศใต้ 1 ช่อง น้ำเข้าได้แต่เรือเข้าไม่ได้
ทิศตะวันออก 3 ช่อง เรือเข้าได้ 2ช่อง อืก 1 ช่องเป็นช่องเดินเท้า
ทิศตะวันตก 2 ช่อง เรือเข้าได้ 1 ช่อง ช่องเดินเท้า 1 ช่อง
ธรณีวิทยา
เขากอบประกอบด้วยหินปูนเนื้อละเอียดสีเทา เทาดำ เทาอมน้ำตาล เนื้อหินบางส่วนมีการตกผลึกใหม่ (Recrystallized) หินปูนในบางบริเวณจะเป็นหินปูนเนื้อ
ปนโดโลไมต์ (Dolomitic limestone) และหินโดโลไมต์ (Dolomite) หินปูนมีลักษณะเป็นชั้นหนา มีแนวของชั้นหินอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
ชั้นหินเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีมุมเอียงเท 20 องศา หินปูนนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี (Ratburi Group) มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน (Permian)
ประมาณ 250-295 ล้านปี

บริเวณเขากอบมีรอยเลื่อนของแผ่นดิน (Fault) อยู่หลายแนวด้วยกัน ได้แก่ แนวเหนือ-ใต้ แนวตะวันตก-ตะวันออก แนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้  บริเวณที่รอยเลื่อนผ่าน จะพบหินปูนกรวดเหลี่ยม (Brecciated limestone) ซึ่งประกอบด้วย เศษชิ้นหินปูนเชื่อมประสานกันด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต
หินปูนกรวดเหลี่ยมเหล่านี้สะสมตัวตามแนวรอยเลื่อน

ถ้ำเลเขากอบ มีลักษณะเป็นถ้ำบนแผ่นดิน (Inland cave) ห่างไกลจากชายฝั่งทะเล เป็นถ้ำหินปูน ที่เรียกว่า Limestone cave หรือ Solution cave
มีธารน้ำไหลลอดใต้ภูเขา โดยแยกออกเป็นหลายสายแล้วไหลออกมาบรรจบกับคลองธรรมชาติภายนอกถ้ำที่ลมีลักษณะเป็นธารน้ำใต้ดินอยู่ในหลายบริเวณด้วยกัน

การท่องเที่ยว
ถ้ำเลเขากอบในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ในช่วงที่นายนิตย์ สีห์วรางกูร ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอห้วยยอด คนที่ 32 (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540) โดยการพานั่งเรือไฟเบอร์ท้องแบน ขนาด 7 ที่นั่ง เที่ยวชมภายในถ้ำ
เดิมใช้เรือที่มีเครื่องยนต์ แต่เนื่องจากเขม่าควันจากเรือยนต์ ไปจับที่บริเวณผนังถ้ำ และทำให้หินย้อยอุดตัน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งรับหน้าที่บริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้เรือพายแทน เพื่อเป็นการรักษาสภาพของธรรมชาติภายในถ้ำไว้ การท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบสามารถเดินทางได้เข้าชมได้ทั้งปี ยกเว้นช่วงฤดูน้ำหลาก เนื่องจากระดับน้ำอาจเพิ่มขึ้นสูงจนไม่สามารถเดินทางเข้าภายในถ้ำได้

ภายในถ้ำเลเขากอบนั้น มีโถงถ้ำมากมายหลายถ้ำ อาทิ ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำรากไทร ถ้ำท้องพระโรง ถ้ำพระสวรรค์ ถ้ำตะพาบน้ำ ถ้ำเพชร ถ้ำพลอย และถ้ำแป้ง เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ เปิดให้บริการท่องเที่ยวเพียง 5 ถ้ำเท่านั้น ได้แก่

ถ้ำคนธรรพ์ เป็นโถงถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และมีหินอยู่ส่วนหนึ่งที่เมื่อเคาะแล้วจะเกิดเสียงกังวาลคล้ายเสียงเครื่องดนตรีไทย นอกจากนี้ชาวบ้านยังตำนานเล่าต่อกันว่า ในอดีตมีคนธรรพ์มาเคาะเล่นดนตรีให้นางกินรีฟังขณะที่กำลังเล่นน้ำตกภายในถ้ำ และมีหินส่วนหนึ่ง ย้อยลงมา คล้ายกับฉากมโนราห์สวยงาม

ถ้ำรากไทร เป็นโถงถ้ำที่มีลักษณะทางเดินยาว ตลอดทางเดินจะมีรากไทรขนาดใหญ่ทอดตัวขนานไปตลอดทางเดิน

ถ้ำเจ้าสาว มีหินงอกลักษณะคล้ายผ้าม่านกั้นอยู่บริเวณด้านหน้าโถง ภายในมีแท่นหินลักษณะคล้ายเตียงนอน ชาวบ้านในท้องถิ่นเชื่อกันว่าหากคนที่ยังไม่มีคู่ เมื่อลอดเข้าโถงถ้ำทางช่องกลางของม่านเจ้าสาว กลับไปก็จะได้พบกันเนื้อคู่ แต่ถ้าหากมีคู่แล้วก็ให้ลอดช่องทางด้านซ้ายมือก็จะอยู่กันอย่างมีความสุข แต่ถ้าหากคนไหนมีคู่แล้ว ต้องการมีเพิ่มก็ให้ลอดช่องด้านขวามือ เมือกลับไปจะได้พบคู่เพิ่ม และเมื่อออกจากโถงถ้ำเจ้าสาว จะต้องออกทางช่องใหญ่ มิฉะนั้นจะไม่เป็นดังคำอธิษฐาน

ถ้ำลอด หรือ ถ้ำมังกร เป็นจุดเด่นของการเที่ยวถ้ำเลเขากอบ เนื่องจากโถงถ้ำมีระดับเพดานถ้ำต่ำมาก การเดินทางผ่านถ้าลอดต้องอาศัยการนอนราบไปบนเรือ ตลอดระยะทางประมาณ 350 เมตร เปรียบเสมือนการนอนลอดผ่านท้องมังกร



Previous
Next Post »